กระดูกที่มองไม่เห็น ใช่ว่าจะยังแข็งแรงอยู่
กระดูกที่มองไม่เห็น ใช่ว่าจะยังแข็งแรงอยู่
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ผิวพรรณที่เคยเรียบเนียนเริ่มมีจุดด่างดำ, ริ้วรอย – ความหย่อนคล้อย – ร่องลึกต่าง ๆ เริ่มปรากฏชัดขึ้น, ผมที่เคยดกดำเริ่มหงอกขาว, ฮอร์โมนเริ่มแปรปรวน ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงที่เราสามารถสังเกตเห็นได้นี้ ทำให้เรารู้ว่าร่างกายเริ่มไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปและต้องใส่ใจดูแลมากขึ้น จนมองข้ามสิ่งที่มองไม่เห็นอย่าง “กระดูก” ไป และละเลยไม่ดูแลจนส่งผลต่อสุขภาพในภายหลัง
กระดูกคือเนื้อเยื่อมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงวัยเจริญเติบโตจนถึงวัยรุ่น ร่างกายจะมีการสร้างกระดูกและสะสมแคลเซียมเพื่อเสริมกระดูกให้แน่นและแข็งแรง แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยนี้ไปร่างกายจะเริ่มสะสมแคลเซียมได้น้อยลง ทั้งยังดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตออกจากกระดูกแทนที่จะเก็บไว้ ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง นอกจากนี้ฮอร์โมนอย่างเอสโตรเจนในผู้หญิงและเทสโทสเทอโรนในผู้ชายที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมมีปริมาณลดน้อยลงไปอีกตามอายุ จึงเป็นเหตุผลที่ว่ายิ่งอายุมากมวลกระดูกจึงยิ่งน้อยลง
เมื่อมวลกระดูกลดลงมากอๆ ย่อมก่อให้เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่กระดูกอ่อนแอ, เปราะบาง และมีแนวโน้มที่จะแตกหักมากกว่าปกติ ทว่าภาวะกระดูกพรุนนั้นมักไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน หลายครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว มักเป็นช่วงที่ประสบอุบัติเหตุจนกระดูกหักอย่างรุนแรง และตามมาด้วยการใช้ชีวิตที่ยากลำบากมากขึ้น
ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนนั้นขึ้นอยู่กับมวลกระดูกที่สะสมภายในร่างกาย ยิ่งมวลกระดูกมีน้อยมากเท่าไหร่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้นเท่านั้น และในทางกลับกันหากมวลกระดูกมีมากเท่าไหร่ กระดูกก็แข็งแรงขึ้นมากเท่านั้นและความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนก็จะลดลงไปด้วย
การปกป้องตัวเองจากโรคกระดูกพรุน คือ การสะสมปริมาณมวลกระดูกในร่างกายในปริมาณเหมาะสม ร่วมกับการป้องกันและชะลอการเสียมวลกระดูก โดยสามารถทำได้ง่ายๆ โดย
1. เพิ่มปริมาณแคลเซียมให้เพียงพอ: ปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับช่วงอายุ 19 ถึง 50 ปี และผู้ชายอายุ 51-70 ปี อยู่ที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และควรทานเพิ่มมากขึ้นให้ได้ปริมาณ 1,200 มิลลิกรัมต่อวันในผู้หญิงอายุ 51 ปีขึ้นไปและผู้ชายที่มีอายุ 71 ปีขึ้นไป
แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สามารถทำได้ด้วยการเลือกทานผลิตภัณฑ์จากนม อัลมอนด์ บร็อคโคลี่ คะน้า ปลาแซลมอนกระป๋องใส่กระดูก ปลาซาร์ดีน และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เป็นต้น
2. ไม่มองข้ามวิตามินดี: ถึงแม้ว่าแคลเซียมจะเป็นส่วนสำคัญในการเสริมความแข็งแรงให้กระดูก แต่วิตามินดีก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินดีเพื่อดูดซับแคลเซียม โดยปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่อายุ 19 ถึง 70 ปี คือ 600 หน่วยสากล (IUs) ต่อวัน คำแนะนำเพิ่มขึ้นเป็น 800 หน่วยสากล ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่อายุ 71 ปีขึ้นไป
แหล่งวิตามินดีที่ดี ได้แก่ ปลาที่มีน้ำมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ปลาไวต์ฟิช และทูน่า นอกจากนี้ยังรวมถึง เห็ด ไข่ และแสงแดดในยามเช้าที่มีส่วนช่วยในการผลิตวิตามินดีในร่างกาย
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เช่น การเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง และขึ้นบันได สามารถช่วยให้คุณสร้างกระดูกที่แข็งแรงและสูญเสียมวลกระดูกได้ช้า ทั้งนี้ควรออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้เสี่ยงการกระดูกพรุน: ได้แก่การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้ลดลง
5. เสริม CBP เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงกระดูก: CBP หรือ Concentrated Bioactive Protein เป็นโปรตีนโมเลกุลต่ำที่สกัดได้จากนมวัว มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกได้ เนื่องจาก CBP จะข่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก และชะลอการทำงานของเซลล์สลายกระดูกไม่ให้กระดูกสลายตัวเร็วขึ้น จึงมีส่วนช่วยลดการเกิดกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand
นมวัวถือเป็นอาหารพื้นฐานที่หลาย ๆ บ้านมักมีติดไว้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กวัยกำลังโตอาศัยอยู่ด้วย เพราะในความเข้าใจของคนโดยทั่วไป การให้เด็กวัยกำลังโตดื่มนมเป็นประจำทุกวันร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มส่วนสูงได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว แต่เพียงแค่ครึ่งเดียว เพราะสารอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มส่วนสูงโดยตรงนั้นกลับไม่ใช่โปรตีนหรือแคลเซียม แต่เป็น CBP ต่างหาก
CBP หรือ Concentrated Bioactive Protein โปรตีนที่พบในน้ำนมวัว เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูก ทั้งยังมีสรรพคุณในการช่วยเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต ขยายใหญ่และยาวขึ้นในช่วงวัยกำลังโต 12 – 18 ปี ยิ่งเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายสูงขึ้นได้มากเท่านั้น
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการดื่มนมเป็นประจำทุกวันถึงช่วยทำให้เด็กสูงขึ้นได้ ก็เพราะ CBP ที่อยู่ในนมวัวนี่เองที่ถือเป็นพระเอกของเรื่องนี้ ทั้งนี้มีเด็กบางคนที่ดื่มนมเท่าไหร่ก็สูงช้า หรือไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็น เกิดจากอะไร?
อย่างแรกเลยก็คือในเรื่องของกรรมพันธุ์ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สูง ลูกก็มีโอกาสไม่สูงได้ ต่อมาในเรื่องของการออกกำลังกาย หากเด็กขาดการออกกำลังกายร่วมด้วย ก็มีโอกาสเตี้ยได้เช่นกัน รวมถึงในเรื่องของความเจ็บป่วยต่าง ๆ การขาดฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุได้เช่นกัน
แต่หากไม่ใช่ 3 ปัจจัยข้างต้นนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่กลับมาดูในเรื่องของอาหารการกินว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ หากกินนมเป็นปกติแต่ยังสูงช้าอยู่ ก็อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับ CBP ไม่เพียงพอที่จะช่วยทำให้กระดูกยืดขยายได้
เพราะในนมวัวนั้นมีปริมาณ CBP อยู่น้อยมาก โดยใน 1 ลิตรนั้นมีปริมาณ CBP อยู่เพียง 1.5 มิลลิกรัมเท่านั้น จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ลูกน้อยสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และคงไม่ดีนักที่จะให้ลูกน้อยดื่มนมเพิ่มไปอีกเยอะ ๆ เพราะในนมไม่ได้มีแต่โปรตีนและแคลเซียม แต่ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ อย่างไขมันอีก อาจทำให้อ้วนขึ้นได้
เพื่อให้ได้รับ CBP ในปริมาณที่มากขึ้น ปัจจุบันจึงมีความพยายามที่จะสกัด CBP ออกมาจากนมวัวโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จแล้วใน PreBO โภชนเภสัชเพื่อสุขภาพกระดูกจาก Interpharma โดยใน 1 เม็ดมีปริมาณ CBP มากถึง 80 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่าการดื่มนมวัว 53 ลิตรในครั้งเดียว แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage powder), วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง
เพราะช่วงเวลาของความสูงมีจำกัด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป เสริม CBP ให้ลูกน้อยในช่วงวัยที่ยังสูงได้ ให้ลูกน้อยสูงเร็วขึ้น มีพัฒนาการที่สมวัย
สนใจผลิตภัณฑ์ PreBO จาก Interpharma สามารถสอบถามได้ที่ร้านขายยา LAB Pharmacy ทุกสาขา หรือสอบถามเภสัชกรโดยตรงที่ Call Center 094-956-9536 หรือ Line @interpharma
ที่มา: “Journal of food science and nutrition” Vol. 12 (2007), No. 1 pp. 1-6