ความเครียด และโรคซึมเศร้า มีผลกับลำไส้แปรปรวน
การรักษาโรคลำไส้แปรปรวนมีส่วนช่วยลดอาการซึมเศร้าและอาการจิตเภทได้
การติดต่อระหว่างลำไส้กับสมองใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ภาษิตอเมริกันกล่าวว่า “Butterflies in my Stomach” หมายความว่า เวลาที่เครียดหรือตื่นเต้นจะรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินว่อนอยู่ในท้อง เมื่อเราตื่นเต้น ประสาทซิมพาเทติกจะตื่นตัว ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง น้ำย่อยมีปริมาณลดลง และถ่ายอุจจาระไม่คล่อง
ถ้าอยู่ในภาวะตึงเครียดนานๆ โรคภัยเกี่ยวกับลำไส้จะปรากฏออกมา ที่เด่นชัดที่สุดคือ อาการลำไส้แปรปรวน เมื่อตื่นเต้นหรือเครียด เราจะปวดท้องและวิ่งหาห้องส้วม โรคลำไส้แปรปรวนไม่ใช่โรคติดต่อและไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้ชีวิตยุ่งยากมาก ถ้าอาการหนักอาจถึงขั้นออกจากบ้านไม่ได้
แรงกดดันจากจิตใจในวัยเด็กมีผลอย่างชัดเจนต่อสมรรถภาพของลำไส้ และอาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของลำไส้ ผู้ป่วยโรคลำไส้เรื้อรังกว่าร้อยละ 70 มักผ่านความเศร้าโศกจากการจากไปของผู้ใกล้ชิด
เมื่อพูดถึงโรคซึมเศร้าเรามักนึกถึงสารเซโรโทนิน (serotonin) ที่ได้รับการขนานนามว่า “สารสร้างความสุข” เซโรโทนินเกี่ยวข้องกับการปรับอารมณ์ถ้าร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินน้อยเกินไป หรือทำหน้าที่ไม่ดี ล้วนก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
“เซโรโทนินผลิตโดยลำไส้เป็นหลัก” เพราะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และมีผลต่อสมอง การปรับอารมณ์ การนอน ความอยากอาหาร การเรียนรู้ และการจดจำ ถ้าเซโรโทนินในกระแสเลือดต่ำเกินไปจะรู้สึกซึมเศร้า และปวดท้อง เมื่อคุณกินยาแก้ซึมเศร้า เช่น ยาโพรแซก (Prozac) จะทำให้อารมณ์ดีขึ้นและสบายท้อง ทั้งนี้ เพราะ โพรแซกทำให้เซโรโทนินในเลือดเข้มข้นขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ได้มีผลต่อสมอง แต่มีผลต่อลำไส้
ลำไส้กับสมองสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ในทำนองเดียวกันลำไส้กับจิตใจก็มีผลต่อกันและกัน การรักษาโรคซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน และโรคจิตเภทอื่นๆ จึงเริ่มจากการดูแลลำไส้ของผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง