คุณแม่ตั้งครรภ์ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด - Interpharma Group

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด

คุณแม่ตั้งครรภ์ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ไม่ว่าจะมือเก่า มือใหม่ ที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ ย่อมเกิดความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อยที่กำลังจะเกิด ลูกน้อยต้องอยู่ในท้องคุณแม่ถึง 9 เดือน นอกจากคาดหวังให้ลูกน้อยที่จะคลอดออกมานั้นมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว พ่อแม่ทุกคนล้วนต้องการให้ลูกเป็นเด็กที่มีพัฒนาการที่ดี และมีความเฉลียวฉลาด  ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่ดูแลลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์อย่างถูกวิธีคือสิ่งสำคัญ เพราะโดยปกติแล้วการมีสมองที่ดีและเฉลียวฉลาด เกิดขึ้นได้จาก 3 ประการ คือ พันธุกรรม, การดูแลในด้านโภชนาการของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ และการกระตุ้นพัฒนาการหลังคลอดของลูกน้อย

ระหว่างตั้งครรภ์ทำอย่างไรให้ลูกฉลาด

  • อาหารที่ดีกระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า เพราะอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปจะส่งตรงสู่ลูกน้อยผ่านทางสายสะดือ เท่ากับว่าเมื่อคุณแม่ทานอะไรลูกก็จะได้รับสิ่งนั้นตามไปด้วย ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรมีแคลอรี่ที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โดยเน้นที่โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างการทำงานของสมอง และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งการมองเห็นของลูกน้อย คือ ดีเอ็ชเอ (DHA) หรือ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันในตระกูลโอเมก้า-3 เพราะเนื้อสมองของทารกในครรภ์มีไขมันเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะกรดไขมันดีเอชเอ (DHA) มีมากถึงร้อยละ 60 สารอาหารเหล่านี้ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากการรับประทานเท่านั้น ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกปลาทะเล และสาหร่ายทะเล และสารอาหารชนิดที่สองคือ เออาร์เอ (ARA) หรือกรดไขมันอะราคิโดนิก (Arachidonic acid : ARA) เป็นกรดไขมันเช่นเดียวกับ ดีเอ็ชเอ (DHA) แต่เป็นในกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่ง เออาร์เอ (ARA) มักพบได้ในอาหารชนิดเดียวกับที่พบ ดีเอ็ชเอ (DHA) ซึ่งนอกจากในน้ำนมแม่แล้วยังพบได้ในอาหารด้วย เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า สาหร่ายทะเลบางชนิด และน้ำมันที่สกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเล เป็นต้น สำหรับ เออาร์เอ (ARA) นั้นมีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านสมองและระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้สมบูรณ์ อีกสารอาหารที่ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง คือ กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า “โฟเลต” คือวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ มักพบในพืชใบเขียวและผลไม้ ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย
  • สัมผัสหน้าท้องกระตุ้นพัฒนาการประสาทสัมผัส ในช่วงเดือนแรกๆ แม้ทารกจะเป็นตัวอ่อนอยู่ แต่อายุครรภ์เดือนที่ 2-3 ทารกจะเริ่มรับรู้ถึงแรงสั่นสะท้อน สัมผัสทางการจากที่คุณแม่สัมผัสหน้าท้องเบา ๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนการรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น และหากคุณแม่มีความสุขในช่วงเวลานี้ ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดรฟินหรือสารแห่งความสุขจะถูกส่งผ่านไปทางสายสะดือไปยังลูกน้อยในครรภ์ จะทำให้ลูกน้อยเป็นเด็กอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย มีพัฒนาการที่ดีทั้ง IQ และ EQ
  • ใช้เสียงกระตุ้นพัฒนาการการได้ยิน เดือนที่ 5-6 หูของลูกน้อยในครรภ์จะพัฒนาสมบูรณ์ ในระยะนี้ระบบประสาทการรับฟังถือว่าเป็นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสในอับดับต้น ๆ ช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มแยกแยะเสียงได้ ดังนั้นเสียงต่าง ๆ จากภายนอกก็จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ใยประสาททางการได้ยินมีพัฒนาการดีขึ้น โดยเฉพาะเสียงของพ่อแม่จะส่งผ่านเข้าไปถึงลูกน้อยได้ในระยะนี้ ลูกน้อยจะสามารถได้ยิน รับรู้ แยกแยะเสียง และจดจำ ทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีทักษะด้านภาษาและการสื่อสารตั้งแต่ยังไม่ได้คลอด การเปิดเสียงเพลงท่วงทำนองที่ฟังสบายอย่างเพลงคลาสสิค ที่ขึ้นว่ามีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทำให้สมองมีความเฉลียวฉลาด และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี เพราะคลื่นเสียงจะไปกระตุ้นการได้ยินให้พัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น
  • แสงสว่างกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็น ในเดือนที่ 7 ลูกน้อยในครรภ์สามารถลืมตา รับรู้มองเห็นแสง และแยกความแตกต่างระหว่างความมืดและความสว่างได้ ในระยะนี้สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นด้วยการใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้อง เปิดปิดไฟแบบกะพริบ ๆ เพื่อให้แสงเคลื่อนที่บนล่างอย่างช้า ๆ การส่องไฟที่หน้าท้องนี้จะทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นของลูกน้อยมีพัฒนาดีขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  : www.si.mahidol.ac.th, www.happymom.in.th