จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าขับถ่ายไม่เป็นเวลา? - Interpharma Group

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าขับถ่ายไม่เป็นเวลา?

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าขับถ่ายไม่เป็นเวลา?

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าขับถ่ายไม่เป็นเวลา?

การขับถ่ายเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญประจำวันที่ทุกคนควรจะต้องได้ทำ ในหนึ่งวันเราควรได้ขับถ่ายอย่างน้อย 1 ครั้งเพื่อกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกายออกไป แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ บางคนสองวันถึงถ่าย หรืออาจมากถึง 3 – 4 วัน หากนาน ๆ เป็นครั้งคงไม่เป็นไร แต่หากเป็นบ่อย ๆ ล่ะก็มีแต่ผลเสีย ไม่มีเรื่องดีเลย

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราขับถ่ายไม่เป็นเวลา?

1. ท้องผูก แน่เสียยิ่งกว่าแน่ เพราะการขับถ่ายไม่เป็นเวลานั้นจะทำให้ลำไส้ใหญ่ยิ่งดูดซึมน้ำในอุจจาระมากขึ้น เมื่ออุจจาระแห้งแข็งไม่มีน้ำ จะเอาอะไรไปหล่อลื่นให้อุจจาขับตัวได้ง่าย?อาการท้องผูกจึงเกิดขึ้น

2. เชื้อโรคแพร่กระจาย อุจจาระก็คือของเสีย เมื่อไม่เกิดการขับถ่าย ร่างกายดูดซึมน้ำจากอุจจาระไป ของเสียที่ควรถูกขับออกไปก็ถูกดูดกลับเข้าไปด้วย เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรค ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดหัว ท้องอืด ผิวหนังอักเสบ สิวขึ้น ทั้งยังทำให้อารมณ์ไม่ดีหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

3. สารพิษสะสมในร่างกาย ผลพวงจากการที่ร่างกายดูดซึมน้ำจากอุจจาระกลับไปนั่นเอง เมื่อขับถ่ายไม่เป็นเวลาติดต่อกัน สุขภาพจะเริ่มย่ำแย่ลง น้ำหนักจะขึ้น แถมยังทำให้ลดน้ำหนักยากมากขึ้นไปอีก เนื่องจากมีสารพิษในร่างกายมากเกินไป

4. เกิดกลิ่นปากและกลิ่นตัว เป็นผลพวงจากการที่สารพิษสะสมในร่างกาย เมื่อเชื้อโรคถูดดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านไปยังปอด ปอดก็จะฟอกเลือดและขับเชื้อโรคต่าง ๆ ออกมาทางลมหายใจและผิวหนัง คนที่ขับถ่ายยาก ขับถ่ายไม่เป็นเวลาจึงมักจะมีกลิ่นปากและกลิ่นตัวที่แรงจนรบกวนคนรอบข้างได้ง่าย

5. เสื่องต่อการเกิดโรคผนังลำไส้อักเสบ สืบเนื่องจากการที่ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำจากก้อนอุจจาระ ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง เวลาขับถ่ายอาจทำให้ก้อนอุจจาระนั้นไปขูดกับผนังลำไส้จนเลือดออกได้จนเป็นหนอง หรือลำไส้อุดตัน

นี่เป็นเพียงตัวอย่างน้อย ๆ ที่เกิดจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา หากไม่อยากเจอกับปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดเลยคือควรดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ อย่างผักและผลไม้เพื่อเพิ่มมวลอุจจาระให้เพียงพอ และเสริมด้วยโปรไบโอติกเพื่อปรับสมดุลภายในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ เพียงเท่านี้ปัญหาต่าง ๆ ก็จะหมดไป ขับถ่ายได้สะดวกและเป็นเวลามากขึ้น

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล