จุลินทรีย์ในลำไส้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย - Interpharma Group

จุลินทรีย์ในลำไส้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

เรามักพูดว่า “สกปรกก็กินบ้างจะได้มีภูมิคุ้มกัน” คำพูดนี้อิงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้างเช่นกัน

มีการสังเกตหนูทดลองบางกลุ่มที่ถูกใช้ในทางการแพทย์ คือกลุ่ม “หนูที่ปลอดเชื้อ” หนูชนิดนี้เกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ ในลำไส้แทบจะไม่มีจุลินทรีย์เลย อายุขัยโดยธรรมชาติของมันยืนยาวกว่าหนูทั่วไป 1.5 เท่า ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ กลับจะทำให้ลำไส้อายุยืนยาว ทว่าหนูทดลองกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก พูดง่ายๆ ว่าแทบจะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเลย ถ้านำมาเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติ พอติดเชื้อเข้าหน่อยก็จะตายทันที

คำอธิบายข้างต้นนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของจุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้คือสนามฝึกซ้อมของระบบภูมิคุ้มกัน และจุลินทรีย์ในลำไส้ก็คือ “ครูฝึก” นั่นเอง พวกมันจะเข้าประจำการในลำไส้ตั้งแต่เราเกิด ฝึกฝนระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเติบใหญ่สมบูรณ์ ยามปกติ ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ถือว่าจุลินทรีย์ในลำไส้คือศัตรูสมมติ และรับการฝึกฝนจากจุลินทรีย์จนแข็งแกร่งตามธรรมชาติ

จุลินทรีย์ในลำไส้ของเรามีหน้าที่สำคัญในการย่อยอาหารและคุ้มครองลำไส้ แต่ถ้ากิจกรรมของจุลินทรีย์ในลำไส้ยุ่งเหยิงมันจะเป็นบ่อเกิดแห่งโรค ความจริงแล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้จะเป็นประโยชน์ต่อลำไส้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ามันทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดได้หรือไม่ ถ้าทั้ง 2 อย่างนี้ขาดสมดุล โรคอักเสบต่างๆ ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกัน หรือแม้แต่มะเร็งก็จะทยอยกันมาเยี่ยมเยือน

ดังนั้นแท้จริงแล้ว ลำไส้จึงไม่ได้เป็นเพียงอวัยวะย่อยอาหาร แต่ยังเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดด้วย ถ้าคุณไม่ดูแลลำไส้ให้ดี ผู้ที่ย่ำแย่ก่อนเพื่อนก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันผู้ซื่อสัตย์นั่นเอง เมื่อสมรรถภาพภูมิคุ้มกันเสื่อมลง สุขภาพร่างกายจะดีได้อย่างไร

ลักษณะการดื่มกินในชีวิตปัจจุบันทำให้ระบบประสาทลำไส้และระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวนไปหมด ดังนั้น คนสมัยนี้จึงควรดูแลลำไส้ให้ดีที่สุด

ด้วยความปราถนาดี

Interpharma