รับมือ “กระดูกพรุน” อย่างไร? เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน - Interpharma Group

รับมือ “กระดูกพรุน” อย่างไร? เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน

รับมือ กระดูกพรุน อย่างไร? เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน

กระดูกพรุน เป็นโรคที่สามารถพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป สาเหตุเนื่องมาจากผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะจุดสำคัญอย่างกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและข้อมือ นำไปสู่ปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกายตามมา

เมื่อประจำเดือนหมดลง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายก็จะลดลง ส่งผลต่อการปรับตัวของกระดูกในเชิงลบ โดยเกิดการกัดกร่อนกระดูก มีการดึงแคลเซียมในกระดูกมากกว่าการสะสมหรือการสร้างเพิ่ม เมื่อการสร้างและการสลายกระดูกทำงานไม่สมดุลกัน แคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกถูกดึงออกมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นกระดูกพรุนในที่สุด

แน่นอนว่าการสะสมมวลกระดูกสำหรับคนวัยนี้คงไม่ทันเสียแล้ว เนื่องจากเมื่อร่างกายมีอายุเกิน 35 ปีเป็นต้นไป ร่างกายจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ทำให้กระดูกค่อยๆ บางตัวลงตามตัวเลขอายุที่มากขึ้น คงทำได้เพียงชะลอไม่ให้บางลงไปมากกว่าเดิม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังควรเสริม CBP ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลต่ำที่มีสรรพคุณช่วยเสริมประสิทธิภาพเซลล์สร้างกระดูก และลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก เมื่อรับประทานเป็นประจำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อมในผู้สูงวัย

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายที่มีการถ่วงน้ำหนักหรือต้านน้ำหนัก (Weight Bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนักเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้มีมวลกระดูกมากขึ้น กระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขน ขา และกระดูกสันหลัง

3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีเพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก โดยควรรับแสงแดดอ่อน ๆ ในยามเช้าหรือยามเย็นวันละประมาณ 10 – 15 นาที สัปดาห์ละ 3 วันก็เพียงพอ หรือถ้าทำได้ทุกวันก็จะส่งผลดีอย่างมาก

4. รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เนื่องจากคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อการเป็นกระดูกพรุนได้ง่าย

5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้ภาวะกระดูกพรุนรุนแรงขึ้น เช่น

  • ไม่ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมาก เนื่องจากกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมจะทำให้แคลเซียมถูกสลายออกจากกระดูกมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่จะลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดลง กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น

6. ควรปรึกษาแพทย์เป็นประจำเพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค

เชื่อหรือไม่ว่าร้อยละ 90 ของคนไทยเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ อย่าปล่อยให้วันเวลาผ่านไป หากไม่อยากเป็นกลุ่มคนร้อยละ 90 ควรเริ่มต้นดูแลกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพกระดูกที่ดีและห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน

CBP (Concentrated Bioactive Protein) หรือโปรตีนโมเลกุลต่ำที่สกัดจากนมวัว ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้มีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูก เนื่องจาก CBP มีอยู่ในน้ำนมแล้ว การทานนมวัวจึงได้ทั้งแคลเซียมและ CBP แต่ในนม 1 ลิตรจะมี CBP เพียง 1.5 mg. ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณนม


นอกจากนี้ CBP ยังมีสรรพคุณเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต ขยายใหญ่ และยาวขึ้น ในช่วงวัยเจริญเติบโต 12-18 ปี ยิ่งเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้มากแค่ไหน ก็ยิ่งมีส่วนช่วยเสริมความสูงให้กับร่างกายได้มากเท่านั้น


ดังนั้นหากต้องการให้ลูกสูงขึ้น การรับประทาน CBP จึงเป็นสิ่งจำเป็น ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายก็ว่าได้ เพราะการทานแคลเซียมเปล่า ๆ เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้ช่วยอะไรมาก ต้องทานควบคู่ไปพร้อมกับ CBP จึงจะทำให้สูงขึ้นได้

PreBO ผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชเพื่อสุขภาพกระดูก ใน 1 เม็ดมี CBP เทียบเท่ากับการดื่มนมถึง 53 ลิตร! แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage powder), วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน


สนใจผลิตภัณฑ์ PreBO จาก Interpharma สามารถสอบถามได้ที่ร้านขายยา LAB Pharmacy ทุกสาขา

สั่งซื้อหรือสอบถามผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
Line : https://lin.ee/uwjol1V หรือ @Interpharma
Inbox : https://m.me/interpharma.th
หรือโทรสอบถามเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ 094-9569536

ที่มา: “Journal of food science and nutrition” Vol. 12 (2007), No. 1 pp. 1-6