รู้หรือไม่? ผู้หญิง 1 ใน 4 คน เสี่ยงกระดูกพรุนหลังหมดประจำเดือน! - Interpharma Group

รู้หรือไม่? ผู้หญิง 1 ใน 4 คน เสี่ยงกระดูกพรุนหลังหมดประจำเดือน!

รู้หรือไม่? ผู้หญิง 1 ใน 4 คน เสี่ยงกระดูกพรุนหลังหมดประจำเดือน!

ว่ากันว่าในช่วงชีวิตของผู้หญิงหนึ่งคนมักเจอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายประมาณ 2 – 3 ครั้ง คือเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก เมื่อตั้งครรภ์ และเมื่อหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมในด้านต่าง ๆ


โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือน ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอยลง ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ “กระดูก” ซึ่งพบว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงนั้นประสบกับภาวะกระดูกพรุนหลังจากผ่านช่วงหมดประจำเดือนเป็นต้นไป


ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกายซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวของกระดูกในเชิงลบ โดยเกิดการกัดกร่อนกระดูก มีการดึงแคลเซียมในกระดูกออกมากกว่าการสะสมหรือสร้างเพิ่ม ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5 ปีแรก ส่งผลให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะจุดสำคัญอย่างกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและข้อมือ นำไปสู่ปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกายตามมา


การสะสมมวลกระดูกตั้งแต่อายุยังน้อยคือกุญแจสำคัญของการป้องกันโรคกระดูกพรุน เพราะในวัยเด็กร่างกายจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก ทำให้มีการสะสมแคลเซียมในมวลกระดูกมาก เนื้อกระดูกมีความหนาแน่นจนถึงอายุ 25 – 30 ปี จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีโครงสร้างมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด และหลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงถดถอย มวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป


แต่สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การสลายกระดูกจะเร็วยิ่งกว่าในช่วงหลังอายุ 30 ด้วยเหตุที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังที่ได้กล่าวไป ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ แม้ว่าในช่วงวัยนี้การสะสมมวลกระดูกจะทำได้ไม่ดีเท่าในช่วงเยาว์วัย แต่ก็ยังสามารถเสริมแคลเซียมเพื่อเสริมความหนาแน่นของมวลกระดูกได้อยู่


ด้วยการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นชนิดกีฬาที่มีการถ่วงน้ำหนักหรือต้านน้ำหนักเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงตามไปด้วย และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้ร่างกายสลายกระดูกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำอัดลม แอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้กระดูกพรุนรุนแรงมากยิ่งขึ้น


สำคัญที่สุดคือในเรื่องของอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเน้นกลุ่มแคลเซียมและวิตามินดีเป็นหลัก และควรเสริมด้วย CBP (Concentrated Bioactive Protein) ที่ถือเป็นพระเอกสำหรับกระดูกโดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูกแล้ว ยังช่วยเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ขณะเดียวกันยังช่วยลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ผลที่ได้ก็คือโครงสร้างมวลกระดูกที่แน่นขึ้น แข็งแรงขึ้น และลดความเสี่ยงจากภาวะกระดูกพรุน


สำหรับผู้ที่ต้องการเสริม CBP อาจเลือกดื่มนมวัวที่เป็นแหล่งอาหารหลักของสารอาหารชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ในนมวัว 1 ลิตรจะมี CBP อยู่เพียง 1.5 มิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ทำให้ปัจจุบันจึงมีการสกัด CBP ออกมาในรูปแบบแคปซูลที่สามารถรับประทานได้ง่าย และได้ CBP เพียงพอที่จะเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันกระดูกพรุนสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นต้นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

CBP (Concentrated Bioactive Protein) หรือโปรตีนโมเลกุลต่ำที่สกัดจากนมวัว ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้มีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูก เนื่องจาก CBP มีอยู่ในน้ำนมแล้ว การทานนมวัวจึงได้ทั้งแคลเซียมและ CBP แต่ในนม 1 ลิตรจะมี CBP เพียง 1.5 mg. ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณนม


นอกจากนี้ CBP ยังมีสรรพคุณเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต ขยายใหญ่ และยาวขึ้น ในช่วงวัยเจริญเติบโต 12-18 ปี ยิ่งเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้มากแค่ไหน ก็ยิ่งมีส่วนช่วยเสริมความสูงให้กับร่างกายได้มากเท่านั้น


ดังนั้นหากต้องการให้ลูกสูงขึ้น การรับประทาน CBP จึงเป็นสิ่งจำเป็น ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายก็ว่าได้ เพราะการทานแคลเซียมเปล่า ๆ เพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้ช่วยอะไรมาก ต้องทานควบคู่ไปพร้อมกับ CBP จึงจะทำให้สูงขึ้นได้

PreBO ผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชเพื่อสุขภาพกระดูก ใน 1 เม็ดมี CBP เทียบเท่ากับการดื่มนมถึง 53 ลิตร! แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage powder), วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน


สนใจผลิตภัณฑ์ PreBO จาก Interpharma สามารถสอบถามได้ที่ร้านขายยา LAB Pharmacy ทุกสาขา

สั่งซื้อหรือสอบถามผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
Line : https://lin.ee/uwjol1V หรือ @Interpharma
Inbox : https://m.me/interpharma.th
หรือโทรสอบถามเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ 094-9569536

ที่มา: “Journal of food science and nutrition” Vol. 12 (2007), No. 1 pp. 1-6