ลำไส้ติดยาระบาย - Interpharma Group

ลำไส้ติดยาระบาย

ลำไส้ติดยาระบาย ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ

ลำไส้ติดยาระบาย ฝันร้ายที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ

ท้องผูก-ถ่ายไม่ออก หนึ่งในปัญหาน่ารำคาญที่กวนใจใครหลาย ๆ คน เพราะไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นท้องอืดท้องเฟ้อ, อาหารไม่ย่อย, มีกลิ่นปาก, ริดสีดวงทวาร, ลำไส้ระคายเคือง, ลำไส้อักเสบ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้

ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเลือกที่จะใช้ “ยาระบาย” เป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากใช้เป็นครั้งคราวก็ยังพอได้ แต่หากใช้ติดต่อกันต่อเนื่องยาวนาน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้อาการท้องผูกหนักขึ้น แต่ยังพัฒนาไปเป็น “ลำไส้ติดยาระบาย” ได้เลยทีเดียว

เนื่องจากยาระบายนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ในลำไส้โดยตรง โดย “คล้ายกับการฝืนบังคับลำไส้” ให้ทำงานแบบผิดธรรมชาติ เกิดการบีบตัวจากสารกระตุ้นที่รับจากภายนอกร่างกาย ทำให้ถ่ายได้ทันที

เมื่อกินยาระบายติดต่อกันเป็นประจำ จะส่งผลให้ลำไส้ติดสารกระตุ้น ลำไส้จะจดจำตัวเองให้ทำงานเฉพาะเวลาที่ได้รับสารกระตุ้นเท่านั้น หากไม่ทานก็ไม่ถ่าย แต่ถ้าทานต่อเนื่องก็ดื้อสารกระตุ้น ต้องทานมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นลำไส้ติดยาระบาย หรือลำไส้ขี้เกียจในที่สุด ทีนี้ล่ะก็เรื่องใหญ่เลย เพราะลำไส้จะไม่ทำงานตามธรรมชาติอีกต่อไป กลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังโดยสมบูรณ์

การแก้ปัญหาท้องผูกด้วยการใช้ยาระบาย จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ควรใช้อย่างพร่ำเพรื่อ มากสุดไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็ถือว่านานแล้ว และควรหันมาดูแลตัวเองด้วยการเลือกกินอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อเพิ่มมวลอุจจาระ, รับประทานน้ำให้เพียงพอเพื่อให้อุจจาระนิ่มลง

และสำคัญที่สุด รับประทานโปรไบโอติกให้เพียงพอเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นอกจากจะช่วยฟื้นฟูแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีผลข้างเคียงที่อันตราย ยังช่วยดูแลสุขภาพองค์รวมด้วย ส่งผลดีต่อสมดุลของลำไส้ในระยะยาว ทำให้ไม่ต้องพึ่งยาระบายในอนาคต

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand