ลำไส้คือสมองที่ 2 ของร่างกาย
เมื่อไม่นานมานี้การวิจัยทางการแพทย์พบว่า “ลำไส้กับสมอง” และ “ลำไส้กับโรคจิตเภท” มีความสัมพันธ์กัน ยารักษาไมเกรนใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ยารักษาโรคตื่นตระหนก (panic disease) ปัจจุบันใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนได้
คนที่ท้องผูกจะมีอาการทางจิตใจร่วมคือ ปวดหัว นอนไม่หลับ วิตกกังวล ฉุนเฉียว กระวนกระวาย แม้แต่สมรรถภาพของต่อมใต้สมองก็จะถูกกระทบด้วย ทำให้อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย โดยเฉพาะในสุภาพสตรี
นี่คือความพิสดารของลำไส้ เพราะมันไม่เพียงเป็นอวัยวะย่อยอาหารเท่านั้น ยังมีระบบประสาทที่ซับซ้อนที่สุดรองจากสมอง ในลำไส้เซลล์ประสาทกระจายอยู่กว่า 100 ล้านเซลล์
ศาสตราจารย์ไมเคิล เกอร์ซอน (Michael Gershon) แห่งมหาวิทยาลัยไคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยระบบประสาทลำไส้ได้ขนานนามลำไส้ว่าเป็น “สมองที่ 2” หรือสมองช่องท้อง ว่าจริงแล้วลำไส้มีความรู้สึก รู้จักคิด และแสดงอารมณ์ได้
สมองช่องท้องไม่เพียงควบคุมการย่อยของลำไส้เท่านั้น มันยังเป็นกลไกสำคัญของชีวิตด้วย ที่สำคัญคือมันควบคุมลำไส้ ปลดปล่อยฮอร์โมนต่างๆ ที่มีผลต่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกาย รวมถึงสมองด้วย
หน้าที่หลักของสมองช่องท้อง คือ การสำรวจการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร และกระบวนการย่อยอาหาร จากนั้นจะปรับความเร็วช้าของการย่อยและการหลั่งน้ำย่อยโดยอัตโนมัติ ปรับรูปแบบและความเร็วการบีบตัวของลำไส้ ในระบบการย่อยอาหารของคนเรานั้น การเคี้ยวกับการกลืนควบคุมโดยสมองที่แท้จริง ส่วนการทำงานทั้งหมดของลำไส้ควบคุมโดยสมองช่องท้องจนกระทั่งถึงทวารหนัก อำนาจการควบคุมจึงจะคืนให้สมอง
ศาสตราจารย์เบนจามิน ไลเบต (Benjamin Libet) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “สมองมักมีชีวิตอยู่กับอดีต เมื่อผิวหนังได้รับการกระตุ้น กว่าสมองจะรู้ตัวก็ 0.5 วินาที ร่างกายได้แสดงปฏิกิริยาบางอย่างไปแล้ว แต่สมองกลับต้องใช้เวลา 0.5 วินาทีจึงจะรับรู้ปฏิกิริยาดังกล่าว และจึงจะเริ่ม “คิด” ว่าทำไมจึงมีปฏิกิริยาเช่นนี้ เรามักทำงานตามปฏิกิริยาของลำไส้ หลังจากนั้นสมองจึงจะคิดว่าเพราะอะไร”
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand
Cr. ลำไส้ดีชีวียืนยาว