ลำไส้อักเสบทำลายคุณภาพชีวิต ปวดท้อง ท้องร่วง โรคซึมเศร้า จากลำไส้อักเสบเรื้อรัง
เมื่อลำไส้ของคุณเกิดความเสียหาย เป็นแผล และมีการอักเสบ ติดเชื้อ คุณเจอปัญหาใหญ่เข้าแล้ว! เพราะเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง ภายใน ที่รักษาให้หายยาก เพราะแพทย์ไม่สามารถทำความสะอาดแผลในลำไส้ แล้วเอาพลาสเตอร์ยาไปปิดแผลให้คุณได้ รวมถึงใส่ยาฆ่าเชื้อไม่ได้ด้วย
นอกจากอาหารปวดทรมานจากแผลแล้ว อาการที่ตามมาก็แย่มาก เช่น ท้องร่วงจนหมดแรง ปวดท้อง และอ่อนเพลีย
อาการของโรค
1) ในขณะที่ลำไส้ของผู้ป่วยอักเสบและมีแผลนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงบ่อยๆ บางครั้งจะถ่ายเป็นเลือด
2) ถ้าตรวจโดยส่องกล้องจะพบแผลในลำไส้ หรือกระเพาะอาหาร
3) ปวดท้องอย่างรุนแรงและเป็นตะคริว
4) อ่อนเปลี้ยเพลียแรง น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนขาดสารอาหาร รวมถึงโลหิตจางอันเนื่องมาจากการเสียเลือด
5) แม้ว่าจะเป็นอาการเรื้อรัง แต่ลักษณะของโรคมักมีอาการกำเริบเฉียบพลันสลับกับสงบชั่วคราว ไม่ยอมหายขาดสักที
6) นอกจากนี้ยังถูกวางแผนให้ใช้ชีวิตแบบ “มองหาห้องน้ำตลอดเวลา” หรือวางแผนให้เข้าห้องน้ำได้ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลกระทบกับข้อต่อไป
7) โรคซึมเศร้ามักจะพ่วงมากับลำไส้อักเสบด้วย เพราะลักษณะเรื้อรังของโรคที่กระทบต่องานและความสัมพันธ์ของผู้คน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ นอกจากนี้การอักเสบยังส่งผลให้ภูมิคุ้มกันสร้างสารเคมีกระทำต่อสมองส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก
8) อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อไวรัส รวมถึงลำไส้อุดตัน
การบำบัดรักษาโรคลำไส้อักเสบของแพทย์แผนปัจจุบัน
เนื่องจากอาการลำไส้อักเสบเป็นอาการเรื้อรัง มาตรการการรักษาของแพทย์จึงประกอบด้วยการรักษาอาการที่เกิดขึ้นประกอบกับการป้องกันไม่ให้โรคกำเริบกลับมาใหม่ เพราะ ส่วนใหญ่แม้จะรักษาจนเหมือนว่าหายขาด แต่เมื่อขาดการป้องกันอาการก็จะกำเริบใหม่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงต้องรับประทานยาตลอดชีวิต และ โชคร้ายที่ยาส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงที่อันตราย ยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ รวมถึงใช้กระบวนการผ่าตัดในการรักษา
ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบจึงตกในสภาวะ “หนีเสือปะจระเข้” คือเลือกระหว่างความทุกข์ทรมานจากโรค หรือผลข้างเคียงของยารักษาโรค ทำให้วงการแพทย์หาวิธีบำบัดป้องกันโรคที่ปลอดภัยต่อร่างกาย และพบว่า “โปรไบโอติก” คือทางออก
การป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
จากการวิจัยพบว่าในลำไส้ของผู้ป่วยลำไส้อักเสบมีจำนวน “โปรไบโอติก” หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสมดุลลำไส้น้อยกว่าปกติ รวมถึงพบว่าผู้ป่วยที่มีจำนวนโปรไบโอติกมากจะมีอาการกำเริบน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีโปรไบโอติกน้อย ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า การเพิ่มปริมาณโปรไบโอติกจะเป็นวิธีที่ทรงพลังแต่ว่าปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยลำไส้อักเสบ
โครงการศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยลำไส้อักเสบ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The European Journal of Gastroenterogy and Hepatology เมื่อปี 2003 แสดงให้เห็นว่าโปรไบโอติกอาจจะสามารถใช้แทนยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ เพราะจากงานวิจัยพบว่าผู้ปวยจำนวนร้อยละ 71 มีอาการดีขึ้น และผลที่สำคัญอีกอย่างคือ ไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้โปรไบโอติกเลย ในขณะที่ผู้ป่วยทั้งหมดเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์
ดร..จอนห์ คาโอ (John Kao) นักวิจัยทางอายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ให้ความเห็นว่า “โปรไบโอติกมีศักยภาพสูงมากในฐานะวิธีบำบัดแบบใหม่ที่เราสามารถใช้ร่วมกับวิธีอื่นๆ เพื่อให้การบำบัดโรคลำไส้อักเสบ อาทิ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ”
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand