PreBO
เสริมมวลกระดูกถึงระดับเซลล์ เพิ่มความสูงในเด็ก และป้องกันกระดูกพรุน/ข้อเสื่อมในผู้ใหญ่
วิธีคำนวณความสูงที่เหมาะสมในแต่ล่ะช่วงอายุ
.
โตขึ้นแล้วลูกจะสูงขึ้นไหม? ความสูงของลูกสมวัยหรือไม่? ลูกเตี้ยเกินไปหรือเปล่าเมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน? เป็นคำถามที่พ่อแม่มักสงสัยและกังวลใจ เพราะถ้าลูกอายุมากขึ้นแต่ตัวไม่สูงขึ้น อาจเป็นสัญญาณว่าลูกไม่เติบโตสมวัย
.
ดังนั้นการทราบวิธีคำนวณส่วนสูงที่เหมาะสมของลูกรักอย่างถูกวิธี จึงช่วยลดความกังวลและรู้เท่าทันในกรณีที่เกิดปัญหาได้
.
โดยปกติแล้วอัตราการเพิ่มส่วนสูงตามมาตรฐานของเด็กไทยจะเป็นดังนี้
.
แรกเกิดถึงอายุ 1 ปี มีอัตราการเพิ่มส่วนสูง 23-27 เซนติเมตรต่อปี
อายุ 1-2 ปี มีอัตราการเพิ่มส่วนสูง 10-12 เซนติเมตรต่อปี
อายุ 2-4 ปี มีอัตราการเพิ่มส่วนสูง 6-7 เซนติเมตรต่อปี
ก่อนเข้าวัยรุ่น (ประมาณก่อน 11-13 ปี) มีอัตราการเพิ่มส่วนสูง 4-5.5 เซนติเมตรต่อปี
ช่วงวัยรุ่น 11-18 ปี จะมีอัตราการเพิ่มส่วนสูงมากที่สุด โดยเด็กชาย 8-12 ซม. และเด็กหญิง 7-10 ซม. ต่อปี
.
.
เด็กผู้ชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) ÷ 2
ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.
175 + 152 = 327 ซม.
นำผลลัพธ์ไปบวก 13 จะได้ 327 + 13 = 340
นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 340 / 2 = 170
170 เซนติเมตร คือความสูงคร่าว ๆ ของลูกชายในอนาคต
.
เด็กผู้หญิง = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) ÷ 2
ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนสูงพ่อ = 175 ซม. ส่วนสูงแม่ = 152 ซม.
175 + 152 = 327
นำผลลัพธ์ไปลบ 13 จะได้ 327 – 13 = 314
นำผลลัพธ์หารด้วย 2 จะได้ 314/2 = 157
157 เซนติเมตร คือความสูงคร่าว ๆ ของลูกสาวในอนาคต
.
อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วงบวกลบ 7 – 9 เซนติเมตร ดังนั้นความสูงสุดท้ายของลูกชาย ตามตัวอย่างจะอยู่ที่ 161 – 179 เซนติเมตร และลูกสาวจะอยู่ที่ 148 – 166 เซนติเมตร ตามลำดับ
.
ส่วนสูงของคนเราขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม อย่าลืมใส่ใจโภชนาการ, การออกกำลังกาย, การพักผ่อนให้เพียงพอ มีส่วนช่วยมากต่อการเพิ่มขึ้นของส่วนสูง
.
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand
.
อ้างอิงข้อมูลจาก : Bangkok Hospital