วิธีรักษา “ลำไส้รั่ว” ด้วยตนเอง - Interpharma Group

วิธีรักษา “ลำไส้รั่ว” ด้วยตนเอง

วิธีรักษา ลำไส้รั่ว ด้วยตนเอง

วิธีรักษา “ลำไส้รั่ว” ด้วยตนเอง

ในบทความที่แล้วเราพูดถึงเรื่องภาวะลำไส้รั่วกันไป ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้ต้องสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงเป็นประจำ ซึ่งได้แก่อาหารและยา รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ทำให้ภาวะลำไส้รั่วเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม

แม้ลำไส้รั่วอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และข่าวดีก็คือภาวะลำไส้รั่วสามารถรักษาหายได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีแนวทางในการรักษา 5 ข้อดังต่อไปนี้

1. งดอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายเกิดกลไกลการกำจัดแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นจากการกระตุ้นโดยอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ให้ออกไปหมดจากร่างกาย

2. ปรับเปลี่ยนโภชนาการ โดยหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป ควรลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

3. ลดการใช้ยาพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างโรคหวัดเจ็บคอ ท้องเสีย แผลเลือดออก หากจำเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยามารับประทานเอง และต้องรับประทานให้ครบตามจำนวนและระยะการรักษาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่ การรับประทานอาหารให้หลากหลาย งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ควรทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ลดความเครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Cortisol ออกมา ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ลำไส้ได้ สำคัญที่สุดคือต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายหลั่ง Growth Hormone ได้เต็มที่เพื่อซ่อมแซมร่างกายในช่วงเวลานอนหลับ

5. รับประทานโปรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ เช่นจุลินทรีย์ในตระกูล Lactobacillus, ตระกูล Lactococcus หรือตระกูล Bifidobacterium ที่มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับว่าปลอดภัยและมีประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลจุลินทรีย์ที่ดีและทำลายเชื้อก่อโรคในลำไส้ ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดีและทำงานเป็นปกติ ทั้งยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

สำหรับคนที่มีอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับลำไส้ เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูกสลับท้องเสียเป็นประจำ หากหันมาดูแลตัวเองและรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้น อาการก็จะค่อย ๆ ทุเลาลง และกลับมาปกติได้ในที่สุด

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

ที่มา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล