สาเหตุหลักที่ลูกรัก “ตัวเตี้ย”
สาเหตุหลักที่ลูกรัก “ตัวเตี้ย”
พัฒนาการของลูกรักเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญและใส่ใจอยู่เสมอ เมื่อลูกน้อยเริ่มมีอายุมากขึ้นทุกวันแต่พัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย ก็มักทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องของ “ส่วนสูง” ที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด จนอดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่าลูกน้อยของเรานั้นจะตัวเตี้ยหรือไม่เมื่อโตขึ้น และรู้สึกว่าถึงเวลาที่ต้องแก้ปัญหาเสียทีก่อนที่จะสายเกินไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แก้ไขปัญหาเรื่องความเตี้ยความสูงให้ถูกจุด เราจำเป็นต้องทราบก่อนว่าทำไมลูกเราถึงเตี้ย? มีหลากหลายสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ แต่โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งสาเหตุได้ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ตัวเตี้ยแบบปกติ และแบบผิดปกติ ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีจุดที่แตกต่างกันดังนี้
1. ตัวเตี้ยแบบปกติ หมายความว่าแม้เด็กจะตัวเตี้ยก็จริง แต่ร่างกายโดยรวมนั้นแข็งแรงดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ ที่น่าเป็นห่วง โดยสาเหตุสำคัญอาจเกิดได้จาก
- ตัวเตี้ยเนื่องจากกรรมพันธุ์ โดยเด็กจะมีความสูงสัมพันธ์กับความสูงของพ่อและแม่เป็นหลัก หากพ่อแม่เด็กตัวเตี้ย ลูกน้อยก็อาจได้รับกรรมพันธุ์เตี้ยมาด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดความสูงของเด็ก ดังนั้นเด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้แม้จะเตี้ยก็จริง แต่อัตราการเจริญเติบโตถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ตัวเตี้ยในลักษณะเป็นม้าตีนปลาย โดยเด็กจะเจริญเติบโตตามเกณฑ์ปกติตั้งแต่คลอด แต่เมื่อถึงช่วงอายุประมาณ 2 ขวบจะรู้สึกว่าโตช้าลง ทั้งนี้เด็กจะเจริญเติบโตต่อไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตแบบปกติ โดยความสูงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ซม./ปี และจะเป็นหนุ่มหรือสาวช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน แต่เมื่อเพื่อนคนอื่นถึงช่วงหยุดสูงหรือกระดูกปิดแล้ว เด็กกลุ่มนี้จะยังมีเวลาเติบโตต่อไปได้อีก 2 – 3 ปี เนื่องจากอายุกระดูกช้ากว่าเพื่อน และมักมีประวัติว่าพ่อหรือแม่เองก็โตเป็นหนุ่มสาวช้าเช่นเดียวกัน
2. ตัวเตี้ยแบบผิดปกติ มีภาวะโตช้า โดยมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าปกติ (ส่วนสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 5 ซม./ปี) เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยในเด็กบางรายอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียว แต่บางรายอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุรวมกัน ได้แก่
- ภาวะโภชนาการไม่ดี มีปัญหากินไม่พอ แคลอรี่น้อย ที่สำคัญคือนอกจากตัวเตี้ยแล้วยังพบว่าผอมอีกด้วย
- คุณแม่มีปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ เช่นสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
- ความผิดปกติของกระดูก
- รหัสพันธุกรรมผิดปกติ เช่น Down’s syndrome, Tumer’s syndrome
- เด็กมีปัญหาทางสภาพจิตใจ
- ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ขาดฮอร์โมนต่อมไทรอยด์, ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือโกรทฮอร์โมน, ภาวะคอร์ติซอลเกิน, ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด เป็นต้น
สำหรับเกณฑ์ความสูงของเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากการเปรียบเทียบได้จาก “ตารางแสดงส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กแต่ละวัย” ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำขึ้น โดยควรสังเกตอย่างใกล้ชิด
หากพบว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่เบี่ยงเบนไปจากเส้นกราฟการเจริญเติบโตที่ปกติ อาจพาบุตรหลานไปรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่จาก Interpharma เพื่อขอคำแนะนำในเบื้องต้นได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีที่สุด
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand
นมวัวถือเป็นอาหารพื้นฐานที่หลาย ๆ บ้านมักมีติดไว้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กวัยกำลังโตอาศัยอยู่ด้วย เพราะในความเข้าใจของคนโดยทั่วไป การให้เด็กวัยกำลังโตดื่มนมเป็นประจำทุกวันร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มส่วนสูงได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว แต่เพียงแค่ครึ่งเดียว เพราะสารอาหารที่มีส่วนในการเพิ่มส่วนสูงโดยตรงนั้นกลับไม่ใช่โปรตีนหรือแคลเซียม แต่เป็น CBP ต่างหาก
CBP หรือ Concentrated Bioactive Protein โปรตีนที่พบในน้ำนมวัว เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูก ทั้งยังมีสรรพคุณในการช่วยเสริมการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโต ขยายใหญ่และยาวขึ้นในช่วงวัยกำลังโต 12 – 18 ปี ยิ่งเซลล์สร้างกระดูกทำงานได้มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายสูงขึ้นได้มากเท่านั้น
นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมการดื่มนมเป็นประจำทุกวันถึงช่วยทำให้เด็กสูงขึ้นได้ ก็เพราะ CBP ที่อยู่ในนมวัวนี่เองที่ถือเป็นพระเอกของเรื่องนี้ ทั้งนี้มีเด็กบางคนที่ดื่มนมเท่าไหร่ก็สูงช้า หรือไม่สูงอย่างที่ควรจะเป็น เกิดจากอะไร?
อย่างแรกเลยก็คือในเรื่องของกรรมพันธุ์ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สูง ลูกก็มีโอกาสไม่สูงได้ ต่อมาในเรื่องของการออกกำลังกาย หากเด็กขาดการออกกำลังกายร่วมด้วย ก็มีโอกาสเตี้ยได้เช่นกัน รวมถึงในเรื่องของความเจ็บป่วยต่าง ๆ การขาดฮอร์โมนสำหรับการเจริญเติบโต ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุได้เช่นกัน
แต่หากไม่ใช่ 3 ปัจจัยข้างต้นนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่กลับมาดูในเรื่องของอาหารการกินว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ หากกินนมเป็นปกติแต่ยังสูงช้าอยู่ ก็อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับ CBP ไม่เพียงพอที่จะช่วยทำให้กระดูกยืดขยายได้
เพราะในนมวัวนั้นมีปริมาณ CBP อยู่น้อยมาก โดยใน 1 ลิตรนั้นมีปริมาณ CBP อยู่เพียง 1.5 มิลลิกรัมเท่านั้น จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้ลูกน้อยสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และคงไม่ดีนักที่จะให้ลูกน้อยดื่มนมเพิ่มไปอีกเยอะ ๆ เพราะในนมไม่ได้มีแต่โปรตีนและแคลเซียม แต่ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอื่น ๆ อย่างไขมันอีก อาจทำให้อ้วนขึ้นได้
เพื่อให้ได้รับ CBP ในปริมาณที่มากขึ้น ปัจจุบันจึงมีความพยายามที่จะสกัด CBP ออกมาจากนมวัวโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จแล้วใน PreBO โภชนเภสัชเพื่อสุขภาพกระดูกจาก Interpharma โดยใน 1 เม็ดมีปริมาณ CBP มากถึง 80 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่าการดื่มนมวัว 53 ลิตรในครั้งเดียว แถมด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับกระดูก ได้แก่ กระดูกอ่อนปลาฉลาม (Shark Cartilage powder), วิตามินซี และวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง
เพราะช่วงเวลาของความสูงมีจำกัด อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป เสริม CBP ให้ลูกน้อยในช่วงวัยที่ยังสูงได้ ให้ลูกน้อยสูงเร็วขึ้น มีพัฒนาการที่สมวัย
สนใจผลิตภัณฑ์ PreBO จาก Interpharma สามารถสอบถามได้ที่ร้านขายยา LAB Pharmacy ทุกสาขา หรือสอบถามเภสัชกรโดยตรงที่ Call Center 094-956-9536 หรือ Line @interpharma
ที่มา: “Journal of food science and nutrition” Vol. 12 (2007), No. 1 pp. 1-6