คอเลสเตอรอลเกิน 200 น่ากลัวไหม
มีคำถามว่าไปตรวจคอเลสเตอรอลมาได้ผลรวม 220 ถือว่าน่ากลัวไหม แล้วต้องทานยาลดคอเลสเตอรอลหรือไม่?
คำถามนี้แบ่งออกเป็น 2 คำถาม คำถามแรกคือคอเลสเตอรอล 220 อันตรายไหม คำตอบก็คือ “ยังไม่ทราบ” เพราะ เลขคอเลสเตอรอล 220 เป็นผลรวมของคอเลสเตอรอลทั้งหมด ซึ่งข้อเท็จจริงคือคอเลสเตอรอลประกอบด้วยสาร 3 ชนิด คือ HDL, LDL, และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งถ้าจะมาดูว่าคอเลสเตอรอลสูงอันตรายหรือไม่ก็ต้องดูสัดส่วนสารทั้ง 3 ชนิดนี้
HDL คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีต่อหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดีไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ค่าปกติไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dl
LDL คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ไม่ดี ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง สาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โดยปกติไม่ควรเกิน 120 mg/dl
ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากทั้งการสังเคราะห์ในร่างกายของเรา และรับจากการรับประทานอาหาร แต่ถ้าสะสมมากเกินไปจะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยปกติไม่ควรเกิน 150 mg/dl
ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ HDL=ดี, LDL และไตรกลีเซอไรด์=ไม่ดี ถ้าในผลตรวจคอเลสเตอรอลของเรามี HDL มาก มี LDL และ ไตรกลีเซอไรด์น้อย แม้จะมีผลรวมคอเลสเตอรอลสูงก็ถือว่าสุขภาพดีครับ เช่น จากผลรวมคอเลสเตอรอล 220 มี HDL 104, LDL 70, ไตรกลีเซอรไรด์ 46 แบบนี้ถือว่าสุขภาพดี
ดังนั้นถ้าผลรวมคอเลสเตอรอลออกมาสูงอย่าเพิ่งตกใจ ให้วิเคราะห์ดูองค์ประกอบของ HDL,LDL และไตรกลีเซอไรด์ก่อน
สำหรับคำถามที่สองคือ ต้องทานยาลดคอเลสเตอรอลไหม? ก็ให้กลับไปดูที่คำตอบของคำถามแรก คือ วิเคราะห์ดูอัตราส่วนของ HDL, LDL และไตรกลีเซอไรด์ก่อนครับ ถ้าค่า LDL และไตรกลีเซอไรด์สูงมากๆ ก็อาจจะต้องทานยาเสริมในการรักษา แต่เข้าใจว่าแพทย์ส่วนใหญ่ถ้าไม่สาหัสจริงๆ ก็จะไม่สั่งจ่ายยาลดคอเลสเตอรอลกลุ่ม เช่น ยา Statin เพราะตัวยาแม้จะมีฤทธิ์สะดวกทันใจช่วยลดคอเลสเตอรอลได้จริง แต่ในขณะเดียวกันก็มีผลข้างเคียงหลายอย่างจากการทานต่อเนื่อง เช่น ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ, ทำให้กล้ามเนื้อสลาย, มีพิษทำลายระบบประสาท อาจทำให้ผู้ทานรู้สึกมึนหัว เวียนหัว นอกจากนี้งานวิจัยบางชิ้นยังกล่าวว่ายากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และเพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคเบาหวาน
นอกจากนี้การลดระดับคอเลสเตอรอลด้วยยายังส่งผลให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ช้า และมีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนลดลง
เมื่อผลข้างเคียงมันเยอะขนาดนี้ การแพทย์แผนปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงที่จะจ่ายยาลดคอเลสเตอรอล แต่จะแนะนำให้ผู้ป่วยลดคอเลสเตอรอลด้วยตัวเองก่อน เช่น
- งดทานอาหารมากเกินความจำเป็น ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ เนย มะพร้าว กะทิ และอาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอลสูง เช่น ปลาหมึก กุ้ง หอย รวมทั้งอาหารหวานจัด อาหารน้ำตาลสูง
- เพิ่มการบริโภคอาหารประเภทเส้นใย (fiber) ให้มากขึ้น เพราะช่วยดักจับคอเลสเตอรอล
- ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม
- เลิกบุหรี่ และเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
- ลดความเครียดและความวิตกกังวล
- ปัจจุบันมีสารอาหารหลายชนิดที่มีงานวิจัยชี้ว่ามีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอล
นอกจากนี้ควรพบแพทย์ตามนัด และรับการรักษาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
ด้วยความปรารถนาดีจาก
Interpharma Thailand
ทางเลือกใหม่สำหรับควบคุมระดับไขมัน ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ลดความเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่มีผลข้างเคียง
สนใจดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ผลิตภัณฑ์ PreMI >> Click!