สุขภาพดีด้วย วิธีการกินอาหาร 6 ประการ
ประการแรก ต้องกินให้ได้สารอาหารครบถ้วน
คนเราต้องการสารอาหารทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง (โปรตีน) อาหารหมู่ที่ 2 ข้าวแป้ง น้ำตาล เผือก มัน (คาร์โบไฮเดรต) อาหารหมู่ที่ 3 ผักต่างๆ (วิตามิน+แร่ธาตุ) อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ (วิตามิน+แร่ธาตุ) อาหารหมู่ที่ 5 น้ำมัน และไขมัน จากพืชและสัตว์ (ไขมัน)
ประการที่ 2 ต้องกินอาหารให้หลากหลาย
การกินอาหารหลายๆ ชนิด เพื่อให้ร่างกาย ได้รับสารอาหารต่างๆ ครบ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในแต่ละวันควรมีเมนูมื้ออาหารที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป อย่ากินอาหารประเภทใดประเภหนึ่งอย่างเดียว
ประการที่ 3 พยายามงดอาหารประเภททอด
ส่วนใหญ่อาหารจากร้านค้าประเภทของทอดจะทอดด้วยไขมันจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม ไขมันเนย ซึ่งไขมันอิ่มตัวจำพวกนี้ จะเข้าไปเพิ่มระดับของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลตัวนี้อยู่ในร่างกายมากจะทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตีบตันทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ การที่น้ำมันผ่านความร้อนสูงโครงสร้างของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดสารพิษในน้ำมัน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
ประการที่ 4 ต้องกินช้าๆ ค่อยๆ กิน
การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ดี หากเคี้ยวอย่างหยาบๆ แล้วรีบกลืนอาหารจะไม่ย่อยหรือย่อยได้ไม่หมด
ประการที่ 5 เสริมกรดแลคติก (Lactic acid) เป็นประจำ
การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยกรดแลคติกจะช่วยในการรักษาสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยป้องกันการสัมผัสระหว่างเชื้อก่อโรคกับผนังลำไส้
ประการที่ 6 ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร
เพราะอาหารมีผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ การรับประทานอาหารที่มี ‘เส้นใย’ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเส้นใยอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
– เส้นใยอาหารชนิดละลายในน้ำ
– เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำ
เส้นใยอาหารทั้ง 2 ชนิดมีความสำคัญมาก ไม่ควรละเลยประเภทใดประเภทหนึ่ง
เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำเกี่ยวข้องกับปริมาณของอุจจาระด้วย การรับประทานผลไม้บางประเภทจะช่วยให้ได้รับเส้นใยอาหารทั้ง 2 ประเภท อย่างเช่น กล้วยหอม จัดว่าเป็นผลไม้ที่มีเส้นใยทั้งสองประเภท เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงย่อยง่ายและเหมาะกับนักกีฬาหรือผู้ที่ใช้แรงกายมาก
สรุปได้ว่าเพียงควบคุมปริมาณอาหาร ดูแลโภชนาการให้ครบถ้วนในแต่ละมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้โทษ เท่านี้ก็ทำให้คุณสุขภาพดีขึ้นได้ ประกอบกับปฏิบัติตามคำแนะนำ 6 ประการ รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง หรืออาจเลือกตัวช่วยอย่าง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Prebiotic ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนทานอาหารที่มีเส้นใยไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเข้ามาช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ สร้างสมดุลในระบบขับถ่าย ลดอาการภูมิแพ้ และลดคอเลสเตอรอล
ข้อมูลจาก : หนังสือลำไส้ดี ชีวียืนยาว เขียนโดย ดร.ไช่อิงเจี๋ย และเว็บไซต์ wongkarnpat
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand