‘เปิด-ปิดสวิตช์ความหิว’ ด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ - Interpharma Group

‘เปิด-ปิดสวิตช์ความหิว’ ด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้

จุลินทรีย์ในลำไส้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ข้อสรุปนี้ได้มาจากงานวิจัยที่ระบุเอาอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา เมื่อใดก็ตามที่จุลินทรีย์เสียสมดุลจะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังทั่วร่างกาย นำไปสู่ภาวะดื้ออินซูลินและโรคอ้วน โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ในลำไส้ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ เฟอร์มิคิวทีส และ แบคทีรอยดีทีส
.
จากการทดลองในห้องแลปของศาสตราจารย์กอร์ดอน (Jeffrey I. Gordon, M.D.) แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ที่พบในหนูอ้วนเป็นจุลินทรีย์ ‘เฟอร์มิคิวที’ มากกว่า ‘แบคทีเรียอยดีทีส’ และเมื่อทดลองกับคน ผู้ทดลองได้เปรียบเทียบน้ำหนักตัวที่ต่างกันของคู่แฝดไข่ใบเดียวกัน พบว่า ‘แฝดที่อ้วนกว่ามีจุลินทรีย์ชนิดเฟอร์มิคิวทีสในลำไส้ใหญ่มากกว่าแฝดคนผอม’ ต่อมาศาสตราจารย์กอร์ดอนให้อาสาสมัครอีกคนที่มีรูปร่างอ้วน เขากำหนดให้อาสาสมัครรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำและออกกำลังกาย เมื่อน้ำหนักตัวลดลงจึงพบว่า ‘จุลินทรีย์เฟอร์มิคิวทีส’ ที่มักปรากฏในลำไส้คนอ้วน ‘มีจำนวนลดลง’ นี่เองเป็นข้อยืนยันอีกเหตุผลหนึ่งว่า ‘จุลินทรีย์มีผลต่อน้ำหนักตัว’
.
นอกจากชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้จะมีผลต่อน้ำหนักตัวแล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้ยังควบคุมกลไก ‘ระบบเก็บกักพลังงาน’ ในร่างกายของคนเราอีกด้วย ยีนชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่กระตุ้นความหิวชื่อว่า FIAF (Fasting-Induced adipose factor) เมื่อท้องหิว ตัวกระตุ้นความหิวนี้จะสับสวิตช์ ‘เปิด’ ระบบเผาพลาญไขมันของร่างกาย และ ‘ปิด’ ระบบการเก็บไขมันของลำไส้ ในทางกลับกันเมื่อเรากินจนอิ่ม ตัวกระตุ้นความหิวก็จะ ‘ปิด’ สวิตช์ระบบการเผาผลาญไขมัน แต่จะ ‘เปิด’ สวิตช์ระบบการกักเก็บไขมันของลำไส้แทน
.

จุลินทรีย์ในลำไส้ของคนอ้วน มีบางส่วนที่ ‘ปิดสวิตช์ของตัวกระตุ้นความหิว’ โดยพลการ แม้ว่าท้องจะหิว แต่ตัวกระตุ้นความหิวไม่สามารถทำงานได้ ทำให้กลไกลเผาผลาญของร่างกายไม่ทำงาน ทั้งยังปิดระบบการกักเก็บไขมันที่ย่อยแล้วในลำไส้ไม่ได้อีกด้วย ดังนั้นแม้จะอดอาหารอย่างไรก็ไม่ผอม เพราะกลไกการเผาผลาญไม่ทำงาน

.

สรุปได้ว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ มีผลต่อระบบการเก็บไขมันที่ย่อยแล้ว ควบคุมการเปิด-ปิดสวิตช์ของตัวกระตุ้นความหิว เพื่อควบคุมเนื้อเยื่อไขมันและระบบเผาผลาญไขมันของตับ ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการอักเสบ สิ่งเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่ เรื่องความอ้วนของแต่ละบุคคลจึงขึ้นอยู่กับ ‘ชนิดของจุลินทรีย์ในลำไส้’ ไม่ใช่แค่ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องคำนึกถึงคือ การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ เพื่อให้ระบบการกักเก็บไขมันและระบบเผาผลาญไขมันทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.

ข้อมูลจาก : หนังสือลำไส้ดี ชีวียืนยาว เขียนโดย ดร.ไช่อิงเจี๋ย

ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand