เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคตับ ควรปรับการกินอย่างไร - Interpharma Group

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคตับ ควรปรับการกินอย่างไร

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคตับ ควรปรับการกินอย่างไร

โดยทั่วไปคนที่เป็นโรคตับมักประสบกับปัญหาขาดสารอาหาร และมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงเนื่องจากได้รับพลังงานไม่เพียงพอตามมา ที่เป็นเช่นนี้เพราะหน้าที่หนึ่งของตับคือการเผาผลาญสารอาหารและส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับตับจึงทำให้ตับทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ และส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำสารอาหารที่กินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่


ดังนั้นเมื่อเรารู้ตัวเองว่ากำลังเป็นโรคตับ ก็ควรจะเริ่มหันมาใส่ใจกับมื้ออาหารของตัวเองมากเป็นพิเศษ ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการกินให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ด้วย 5 แนวทางง่าย ๆ ดังนี้


1. กินอาหารให้หลากหลายและครบหมวดหมู่
อย่างที่กล่าวไปว่าคนที่เป็นโรคตับอาจประสบกับปัญหาการขาดสารอาหาร ซึ่งเราคงไม่สามารถทำนายได้ว่าร่างกายกำลังขาดสารอาหารประเภทไหนอยู่ จึงควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง


2. ทานไขมันให้น้อยลง
เมื่อตับมีความผิดปกติจะทำให้ตับย่อยสารอาหารประเภทไขมันได้น้อยลง จึงจำเป็นต้องระมัดระวังการกินไขมันให้มาก และทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการกินไขมันจากสัตว์ และเปลี่ยนมากินไขมันจากพืชแทน เช่น น้ำมันถั่ว น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันรำข้าว ซึ่งย่อยได้ง่ายกว่า


3. ระวังปริมาณโปรตีน
แม้ว่าโปรตีนจะเป็นสารอาหารอีกชนิดที่ผู้ป่วยโรคตับมักจะขาด แต่สำหรับคนที่เป็นโรคตับขั้นร้ายแรง เช่น ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ จะต้องระมัดระวังปริมาณโปรตีนที่ทานเข้าไปให้ดี เนื่องจากตับที่เสียหายอย่างรุนแรงจะไม่สามารถขับ “แอมโมเนีย” ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายโปรตีนออกจากร่างกายได้ โดยผู้ป่วยโรคตับในระยะแรก ๆ สามารถรับประทานโปรตีนได้วันละ 30 – 50 กรัม แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับขั้นรุนแรงควรจะลดปริมาณให้เหลือวันละ 20 – 30 กรัมเท่านั้น


4. ทานคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ
อีกทางหนึ่งที่จะช่วยผู้ป่วยโรคตับจากการขาดโปรตีนได้ก็คือการรับประทานคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแหล่งของพลังงาน ซึ่งจะช่วยในกระบวนการแปรรูปโปรตีนให้กลายเป็นสารที่ร่างกายต้องการ และยังช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งควรจะได้รับพลังงานจากการกินคาร์โบไฮเดรต ประมาณวันละ 2,500-3,000 กิโลแคลอรี และคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำจะเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีต เป็นต้น


5. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
สำหรับผู้ป่วยโรคตับที่มีอาการแทรกซ้อนเป็นอาการ “ท้องมาน” หรือ “เท้าบวม” จะต้องหลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องปรุงที่มีรสเค็มโดยเด็ดขาด เหตุผลก็เพราะโซเดียมจะทำให้อาการบวมยิ่งรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้อาหารแปรรูปทั้งหลาย เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก หมูยอ ฯลฯ จะมีโซเดียมอยู่เป็นจำนวนมากจึงต้องหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเช่นกัน


ย้ำกันอีกครั้งว่าสำหรับคนที่เป็นโรคตับนั้นควรจะต้องระมัดระวังและใส่ใจกับอาหารในแต่ละมื้อให้ดีที่สุด โดยเฉพาะกับปริมาณสารอาหารที่ต้องไม่มากและไม่น้อยจนเกินไปแต่ควรเป็นปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งจะสามารถช่วยพยุงให้ร่างกายไม่ทรุดโทรม และไม่ส่งผลให้ตับทำงานหนักจนเกินไป


ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand

ProLivo Promotion


ดูแลตับให้แข็งแรงด้วย ProLivo โภชนเภสัชเพื่อการดูแลตับแบบครบวงจร รวมสารอาหาร สารสกัดจากธรรมชาติ วิตามินและแร่ธาตุมากถึง 20 ชนิด เพื่อบำรุง ปกป้อง และฟื้นฟูการทำงานของตับอย่างครบวงจร

– กรดอะมิโน 14 ชนิด และกรดอะมิโนแบบสายยาว (Branched Chain Amino Acids; BCAA) ที่ช่วยเสริมสร้างการเกิดเซลล์ตับใหม่ ช่วยสร้างโปรตีนและมวลกล้ามเนื้อ
– วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการสร้างของสารอาหารต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบำรุงตับ
– เคอร์คูมินและวิตามินอี เกราะป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และลดภาวะ Oxidative Stress ที่เป็นสาเหตุของการทำลายตับ
– อิโนซิทอลและโคลีน เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ตับ ช่วยฟื้นฟูการทำงาน ลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในตับ และลดคอเลสเตอรอล
– ซิลิเนียม เอนริชส์ ยีสต์ ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูการทำงานของตับ ต่อต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

ProLivo สูตร Triple Action ดูแลตับครบวงจร ช่วยบำรุงและฟื้นฟูการทำงานของตับ ปกป้องตับไม่ให้ถูกทำลายจากแอลกอฮอล์และยา ช่วยลดอาการเมาค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1 กล่องบรรจุ 60 แคปซูล ราคา 1,800 บาท โปรโมชั่นพิเศษ 2 กล่อง ราคาพิเศษ 3,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสามารถสั่งซื้อโดยตรงได้ 3 ช่องทาง ได่แก่
📞Call center : 094-956-9536
💻Inbox : m.me/interpharma.th
📱Line : @interpharma #แอดไลน์ด่วนคลิก https://lin.ee/huxD1c0
🛍Shopee : https://shopee.co.th/interpharma.official