โรคกระดูกพรุน เสริมแค่แคลเซียมอย่างเดียวไม่พอ
โรคกระดูกพรุน เสริมแค่แคลเซียมอย่างเดียวไม่พอ
เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงถึง 90% โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุน! . สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ ซึ่งร่างกายคนเราเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีมวลกระดูกที่เบาบางลง เป็นผลจากอัตราการสร้างกระดูกและอัตราการสลายกระดูกไม่สมดุลกันโดยมีอัตราการสลายกระดูกสูงกว่า กระดูกจึงค่อย ๆ บางลง จนพัฒนากลายเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด . โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายคนเรามีความต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในปัจจุบันพบว่าคนไทยได้รับปริมาณแคลเซียมเฉลี่ยเพียงร้อยละ 400 มิลลิกรัมเท่านั้น เนื่องจากอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวันมีปริมาณแคลเซียมที่ต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย . การรับประทานแคลเซียมเพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นวิธีที่ดีในการป้องกันโรคที่ได้ผลวิธีหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะอายุยิ่งมากขึ้น ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ลำพังแค่การรับประทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่ได้ผล ถ้าขาดการรับประทาน CBP ร่วมด้วย . CBP (Concentrated Bioactive Protein) คือโปรตีนโมเลกุลต่ำที่ถูกพบในนมวัวและนมแม่ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยมีคุณประโยชน์หลัก ๆ คือช่วยให้กระดูกสามารถดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น และป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกขับออกจากกระดูกในปริมาณมาก . และอีกหนึ่งคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการรับประทาน CBP นั้น ก็คือการสร้างสมดุลระหว่างเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูก โดยเสริมการสร้างกระดูกให้มากขึ้น และควบคุมการทำงานของเซลล์สลายกระดูก เมื่ออัตราการสร้างและสลายกระดูกสมดุลกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือการชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุน ทำให้มวลกระดูกแน่นขึ้น ไม่แตกหักง่าย . การรับประทานแคลเซียมควบคู่กับการได้รับ CBP เข้าสู่ร่างกายด้วย เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ณ ขณะนี้ ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ PreBo ผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชจาก Interpharma เพื่อสุขภาพกระดูกที่แข็งแรง วิจัยและพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น มี CBP เทียบเท่ากับการดื่มนมวัว 53 ลิตร! ช่วยเสริมมวลกระดูกถึงระดับเซลล์ ปรับสมดุลระหว่างเซลล์สร้างและสลายกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้แบบองค์รวม . ด้วยความปรารถนาดี Interpharma Thailand . ข้อมูลอ้างอิงจาก : รายงานพิเศษสุขภาพ “ภัยเงียบ! โรคกระดูกพรุน ทำพิการ-เสียชีวิต” หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 18 ธันวาคม 2561