5 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19 - Interpharma Group

5 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19

5 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ดูเหมือนจะไม่จบง่าย ๆ ในเร็ววันนี้ ดังจะสังเกตได้จากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง แม้อัตราผู้ป่วยจะค่อย ๆ ลดลงบ้าง แต่ก็ยังวางใจไม่ได้

ในขณะที่วัคซีนรักษาโรคกำลังอยู่ในช่วงวิจัยและพัฒนา การเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงตลอดเวลาในช่วงเวลาที่ไวรัสแพร่ระบาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสฉวยโอกาสเข้าโจมตีร่างกายได้ ด้วยหลักปฏิบัติ 5 วิธีดังนี้

  1. กินสู้โรค พื้นฐานของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีมาจากการได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ควรเสริมด้วยสารอาหารที่เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง โดยเฉพาะโปรไบโอติกแบคทีเรีย และสารอาหารจำพวกเบต้ากลูแคน
  • โปรไบโอติกแบคทีเรีย เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่ภายในลำไส้ โดยช่วยเพิ่มจำนวน NK Cell (เซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง) เพิ่มกิจกรรมของ NK Cell และการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของเซลล์นิวโทรฟิลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • เบต้ากลูแคน สารอาหารมหัศจรรย์ที่พบได้ในเห็ดหลากชนิด เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด โดยช่วยป้องกันการอักเสบ กระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้เห็น ดักจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม เชื้อก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้ได้ 7 – 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังควรเข้านอนเร็วเพื่อให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน DHEA ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและชาย ทำหน้าที่ช่วยต้านความเครียดและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายมีความแข็งแรงพอที่จะจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไปก็อาจทำให้ภูมิคุ้มกันตก ทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายขึ้น จึงควรออกกำลังกายแต่พอดี วันละ 30 – 60 นาทีต่อวันอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว
  3. ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจาก COVID-19 มากกว่า ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกทำงานได้แย่ลง ทั้งการสูบเป็นระยะเวลานานจะนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น โดยมีรายงานจากวารสารการแพทย์จีนระบุว่า ในผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงรวมถึงเสียชีวิตเป็นผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 14 เท่า!
  4. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่เครียด พยายามทำในสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเครียด หรือที่เรียกว่าคอร์ทิซอลมากเกินไป จนส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้แย่ลง และเมื่อจิตใจปลอดโปร่ง จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน DHEA ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย

การมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แม้ไม่รับประกันว่าจะไม่ติดเชื้อไวรัส แต่ก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงลงได้ ร่วมกับการทำ Social Distancing ห่างกันสักพักเพื่อลดโอกาสติดต่อโรค และดูแลสุขอนามัยให้ดี ก็จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค ลดโอกาสติดเชื้อ และทำให้สถานการณ์กลับมาปกติในไม่ช้า

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

อ้างอิงข้อมูลจาก: โรงพยาบาลกรุงเทพ