10 ยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดไว้ อุ่นใจยามฉุกเฉิน
บ้านอาจจะเป็นที่ๆ ปลอดภัยสบายใจที่สุด แต่ใครจะไปรู้ว่าวันไหนเราจะมีอาการเจ็บป่วยไม่สบายตัวขึ้นมา หรือบางทีก็ประสบอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ หรือแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้ามีการดูแลเบื้องต้นอย่างดีจนสามรถควบคุมอาการไม่อักเสบร้ายแรงได้ก็ดีไป แต่ถ้าเกิดที่บ้านไม่มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือ ยาสามัญประจำบ้าน ไว้บรรเทาอาการป่วยขั้นพื้นฐานก็คงจะวุ่นวายน่าดู ดังนั้นการมียาสามัญประจำบ้านติดบ้านไว้จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยของทุกคนในบ้านได้
“ยาสามัญประจำบ้าน” เป็นยาที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ประชาชนสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองโดยไม่มีอันตราย เพื่อรักษาตนเองเบื้องต้น เช่น ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน อย่างอาการไอ เป็นไข้ ปวดศีรษะ ถูกน้ำร้อนลวก ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือถูกมีดบาด โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นตัน
วันนี้ อินเตอร์ ฟาร์มา ผู้นำในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จะแนะนำยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดเอาไว้เพิ่มความอุ่นใจ มาดูกันว่ายาตัวไหนบ้างที่เป็นตัวสำคัญและยาแต่ละประเภทมีสรรพคุณเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมเช็คลิสต์ไปพร้อมๆ กันว่าคุณมีหรือยัง?
1. เบลล่า พารา (Bella Para) เป็นยาพาราเซตามอล (Paracetamol) อยู่ในกลุ่มยาแก้ไข้ หรือใช้เพื่อลดไข้ บรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยหรือปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ อาการปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม เป็นต้น โดยปกติแล้วกลุ่มยาพาราเซตามอลสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับใบสั่งยาจากแพทย์ แต่อย่าลืมว่าในการใช้ยาแต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างกันทุกๆ 4-6 ชั่วโมง และปริมาณที่ควรใช้ต่อครั้งไม่ควรเกิน 500-1,000 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) หรือถ้าทานยาแก้ไข้ติดต่อกันมากกว่า 3-5 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้
2. มีโนเพน (Menopain) หนึ่งในกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เรียกสั้นๆ ว่า ”ยาเอ็นเสด” ที่คุณผู้หญิงนิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดและการอักเสบที่มีความรุนแรงเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง ทั้งอาการปวดจากโรคข้ออักเสบ ปวดหลังการผ่าตัด โดยตัวยานี้มีจุดเด่นในการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไซโคลออกซีจีเนส ที่มีหน้าที่สังเคราะห์สารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ในร่างกาย และสารพรอสตาแกลนดินบางส่วนจะถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่เกิดบาดเจ็บหรือได้รับความเสียหาย ตัวยาจึงช่วยบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้
3. เวนซิกซ์ (Vensix) เป็นยาใช้ป้องกันและรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียนศีรษะ หรือภาวะป่วยที่อาจเกิดจากการเดินทาง เช่น เมารถ เมาเรือ โดยจะส่งผลต่อการทำงานของสมองและช่วยลดอาการดังกล่าวได้
4. ไซริทีน (Zyritine) ยาประเภท Antihistamine กลุ่มสารต้านฮีสตามีน ที่ขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นยาที่ใช้ในการลดอาการแพ้อากาศ ไข้ละอองฟาง ที่เกิดจากภูมิแพ้ ทั้งจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ลมพิษ และอาการคันอื่นๆ
5. ซูพีแนค (Supenac) เป็นยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะประกอบด้วย N-acetylcysteine (NAC) ใช้รักษาภาวะอาการที่เกิดมูกเหลวเหนียวข้นขึ้น จนเป็นปัญหาต่อการหายใจ จากภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ โดยซูพีแนคจะช่วยสลายมูกเหนียวข้นให้เจือจางลง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจขับมูกเสมหะเหล่านั้นออกมาได้ และช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากขึ้น จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ฉบับหนึ่งเรื่อง ‘N-acetylcysteine to Combat COVID-19:An Evidence Review’ ของ Therapeutics and Clinical Risk ได้เปิดเผยว่า Acetylcysteine สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น เตรียมร่างกายให้พร้อมรับมือกับไวรัสได้
6. แคลไบรอน แคปซูล (Calbiron Capsules) เมื่อมียาป้องกันแล้ว อย่าลืมที่จะเสริมภูมิคุ้มกัน ด้วยวิตามินรวม B1, B6, B12 และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง พร้อมกับบำรุงโลหิตไปด้วยกัน
7. อินโดวิท (Indovit) ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงที่อากาศแปรปรวน เป็นวิตามินซีแบบเคี้ยวรูปแบบใหม่ที่ถูกผลิตมาเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานเหมาะสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะมีลักษณะเป็นเม็ดอมที่สามารถเคี้ยวทานได้แบบไม่ติดรสขมเลย การบริโภควิตามินซีเป็นอาหารเสริม ก็เพื่อป้องกันและรักษาการขาดวิตามินซีในร่างกาย นอกจากนี้วิตามินซียังมีประโยชน์สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการสมานบาดแผล รักษาสุขภาพของเนื้อเยื้อต่างๆ และยังเป็นตัวช่วยในการปกป้องเซลล์ในร่างกายของเราอีกด้วย
8. ยาใส่แผลโพวิโดน-ไอโอดีน ตราพระเจดีย์ เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ขาดไม่ได้ ควรมีติดไว้ตลอด เนื่องจากเป็นยาทาภายนอกที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคและเชื้อไวรัสได้ เพราะเป็นยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้กว้างทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ในช่วงนี้ที่ยังมีไวรัสระบาดก็สามารถทำน้ำยาฆ่าเชื้อด้วยตนเอง ด้วยการนำยามาผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำมาใช้เป็นสเปรย์ฆ่าเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสได้เลย หากใครที่กลัวว่าจะแสบแผลหรือเปล่านะ ขอตอบเลยว่าไม่เลยค่ะ และไม่เป็นอันตรายต่อผิวด้วย
9. บี-เดิร์ม (b-derm) เป็นยาทารูปแบบครีมในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มีฤทธิ์รักษาภาวะต่างๆ จากการอักเสบ บรรเทาอาการแพ้ของผิวหนัง ผื่นและผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ลดอาการคันจากภาวะผื่นแพ้
10. ครีมนวดบรรเทาปวด ดราก้อน (Dragon muscle rub) ไอเท็มสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต้องพกติดตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงที่ต้องใช้ร่างกายหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่าจะปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดขา สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ กล้ามเนื้อไม่ได้แข็งแรงเหมือนสมัยที่เราอายุยังน้อย ทำให้หลายๆ คนเกิดอาการปวดตามจุดต่างๆ ของร่างกาย บางคนมีอาการปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องใช้ตัวช่วยโดยยาทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ ถือเป็นการช่วยบรรเทาอาการปวดและเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ครีมนวดบรรเทาปวด ดราก้อน สามารถใช้นวดเฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดต่างๆ ที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึงหรือเคล็ด ข้อต่ออักเสบ ช้ำ หรือปวดหลัง เป็นต้น โดยยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นบริเวณผิวหนังในตอนแรก จากนั้นจะค่อยๆ อุ่นขึ้น ซึ่งช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากการรู้สึกถึงอาการปวด
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเช็คลิสต์ “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ทุกบ้านควรมีติดไว้ เผื่อเวลาไม่สบายหรือบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ จะได้มีตัวช่วยบรรเทาอาการ ซึ่งยาเหล่านี้สามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ถ้าใช้ยาสามัญประจำบ้านเป็นเวลานาน เช่น ทานยาลดไข้ไปหลายวันแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลา หรือคนที่มีโรคประจำตัวที่กำลังรักษาและอาจต้องระวังการใช้ยาบางชนิด หากเข้าข่ายเงื่อนไขเหล่านี้ควรปรึกษาเภสัชกรหรือพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
#ยาสามัญประจำบ้าน #อินเตอร์ฟาร์มา #ยาลดไข้