กินผักเยอะแต่ท้องผูก
กินผักเยอะแต่ท้องผูก เกิดจากอะไร ?
กินผักเยอะแต่ท้องผูก เกิดจากอะไร?
กากใยเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบขับถ่าย ช่วยให้การทำงานของลำไส้และการขับถ่ายเป็นปกติ นี่เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต่างรู้กันดี อยากถ่ายง่ายให้กินอาหารที่มีกากใยสูง ซึ่งได้แก่อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าบางครั้งแม้เรากินผักในปริมาณมากก็จริง แต่ร่างกายกลับไม่ถ่าย ถ่ายไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด มาถ่ายอีกทีก็อีกสองสามวันถัดไป กลายเป็นท้องผูกโดยไม่รู้ตัว เพราะอะไร?
เบื้องต้นลองสำรวจตัวคุณก่อนว่าในวันหนึ่งคุณดื่มน้ำในปริมาณที่ “เพียงพอ” หรือไม่ โดยวันหนึ่ง ๆ ร่างกายต้องการน้ำวันละประมาณ 8 – 10 แก้ว เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ นอกจากนี้น้ำยังมีส่วนช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มและสามารถเคลื่อนตัวไปตามลำไส้ได้ง่าย การขับถ่ายจึงง่ายตามไปด้วย
แต่หากคุณดื่มน้ำเพียงพอแล้วยังมีอาการท้องผูกอยู่ สาเหตุสำคัญถัดมาอาจเป็นเพราะโปรไบโอติกในลำไส้มีไม่เพียงพอก็เป็นได้!
ที่เป็นเช่นนี้เพราะโปรไบโอติกนั้นมีส่วนช่วยในการทำงานของลำไส้ โดยทำหน้าที่สังเคราะห์กรดอะมิโนที่ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ผลิตแก๊สที่ช่วยผลักดันอุจจาระและขจัดเชื้อโรคออกจากลำไส้ ทั้งยังช่วยเพิ่มมวลและความนุ่มให้กับอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
ในลำไส้เรานั้นประกอบไปด้วยแบคทีเรียหลายร้อยชนิด มีทั้งชนิดที่ดี ชนิดที่เป็นกลาง และชนิดที่ไม่ดี หากมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีอยู่ในลำไส้มาก แบคทีเรียชนิดที่เป็นกลางก็จะเข้าไปเป็นพวกด้วย ทำให้แบคทีเรียชนิดดี (หรือโปรไบโอติก) อ่อนแอ หน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานลำไส้ที่เคยทำงานได้ดีก็บกพร่อง ผลที่เกิดขึ้นก็คือขับถ่ายไม่ดี ขับถ่ายยาก ไปจนถึงท้องผูก
ทางแก้สำหรับเรื่องนี้ก็คือ ต้องให้ร่างกายได้รับโปรไบโอติกอย่างเพียงพอ เพื่อให้มีจำนวนมากพอที่จะดึงแบคทีเรียชนิดที่เป็นกลางเข้ามาเป็นพวกให้ได้ และต่อสู้กับกองทัพแบคทีเรียชนิดไม่ดีให้แตกพ่ายไป เมื่อแบคทีเรียชนิดไม่ดีอ่อนแอลง ลำไส้จึงจะค่อย ๆ กลับมาทำงานเป็นปกติอีกครั้ง อาการท้องผูกจะดีขึ้น เป็นทางแก้ที่ได้ผลวิธีเดียว ไม่มีวิธีอื่นอีกแล้ว!
ดังนั้น นอกจากการรับประทานผักผลไม้เพื่อเสริมกากใยในระบบทางเดินอาหาร การดื่มน้ำที่เพียงพอ ควรรับประทานโปรไบโอติกให้เพียงพอด้วย อาการท้องผูกก็จะกลับมาดีขึ้น และกลับมาขับถ่ายเป็นปกติได้ในที่สุด
ด้วยความปรารถนาดี
Interpharma Thailand