โปรไบโอติกกับการป้องกันโรคหัวใจ - Interpharma Group

โปรไบโอติกกับการป้องกันโรคหัวใจ

ในปัจจุบันเราหลายคนอาจทราบกันดีถึงสรรพคุณของโปรไบโอติกเกี่ยวกับสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลลำไส้ให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดีขึ้น ลดปัญหาท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน ฯลฯ แต่งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังพบว่านอกจากสรรพคุณที่มีต่อระบบลำไส้แล้ว โปรไบโอติกยังอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย

 

โดยงานวิจัยปี 2016 ที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Food & Function ได้ค้นพบว่าการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ภายในลำไส้นั้นอาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นการศึกษาหลายชิ้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้ด้วยโปรไบโอติกเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและ/หรือ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นิยามโปรไบโอติกว่าเป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่เมื่อบริโภคเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอ จะส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาพของแต่ละบุคคล งานวิจัยนี้จึงศึกษาโดยให้คนได้รับประทานโปรไบโอติก และสังเกตถึงผลกระทบต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะคอเลสเตอรอลสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน และโรคเบาหวานประเภทที่ 2

 

จากการศึกษาได้ค้นพบว่า โปรไบโอติกนั้นมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิด LDL ขณะเดียวกันกลับช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นไขมันชนิดดีที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยลดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด สารชักนำการอักเสบ รวมถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ให้ลดลงได้อีกด้วย

 

จากงานวิจัยดังกล่าวจึงอาจสรุปได้ว่าการรับประทานโปรไบโอติกนั้นไม่เพียงแต่ช่วยดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพหลอดเลือดหัวใจได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงหรือแม้กระทั่งเบาหวานจึงอาจมองการรับประทานโปรไบโอติกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ควบคู่กับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะให้ผลดีต่อสุขภาพและช่วยป้องกัน/บรรเทาโรคได้

 

ด้วยความปรารถนาดี

Interpharma Thailand

 

อ้างอิง: Thushara RM, Gangadaran S, Solati Z, Moghadasian MH. Cardiovascular benefits of probiotics: a review of experimental and clinical studies. Food Funct. 2016 Feb;7(2):632-42.